top of page

ทำความรู้จัก "Efflorescence" คราบขาวที่มักเกิดบนหินธรรมชาติ


efflorescence, คราบขาวบนหินธรรมชาติ, คราบเกลือบนหินธรรมชาติ


สวัสดีครับ วันนี้ทางแอดมินขออนุญาตินำเสนอเรื่องที่ภาษาอังกฤษใช้ศัพท์ว่า "Efflorescence" ส่วนในประเทศไทยมักถูกเรียกว่า คราบสีขาว คราบด่าง หรือบางคนเรียก คราบเกลือ ซึ่งมักพบเห็นบ่อยได้ตามพื้นผิวคอนกรีต ทรายล้าง รวมไปถึงหินธรรมชาติ เช่น หินแกรนิต ซึ่งทำให้พื้นผิวดูสกปรกไม่น่ามอง ดังรูปประกอบด้านล่างนี้


efflorescence, คราบขาวบนหินธรรมชาติ, คราบเกลือบนหินธรรมชาติ
efflorescence, คราบขาวบนหินธรรมชาติ, คราบเกลือบนหินธรรมชาติ

จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดคราบสีขาวแล้ว พื้นและผนังหินสวยๆ ของเราอาจจะไม่น่ามองอีกต่อไป แต่คราบดังกล่าวถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้เอง ไม่ได้เกี่ยวข้องกับคุณภาพของหินและไม่ได้เป็นปัญหา (Defect) ที่เกิดจากการติดตั้งไม่ได้คุณภาพแต่อย่างใด และไม่ได้ส่งผลให้การติดตั้งไม่แข็งแรงเช่นกัน




สาเหตุที่ทำให้เกิดคราบขาว

แอดมินสรุปง่ายๆ แล้วมี 3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่

  1. เกลือในวัสดุต่างๆ ที่ละลายน้ำได้ (water-soluble salt) ซึ่งเกลือนี้มักเป็นส่วนประกอบในการผลิตปูนที่ใช้ในการก่อสร้าง วัสดุยาแนว ทรายที่นำมาผสมปูน หรือแม้แต่ในหินธรรมชาติบางชนิดเองก็มีส่วนประกอบของเกลือนี้เช่นเดียวกัน

  2. ความชื้น

  3. แรงดัน

คราบขาวเกิดจากเกลือที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในหินหรือคอนกรีต ถูกความชื้นดันผ่านช่องว่างในเนื้อปูนหรือช่องว่างในหินขึ้นมาที่ผิวหน้า เมื่อความชื้นถูกแสงแดดและความร้อนจึงระเหยไป เหลือแต่คราบเกลือติดอยู่ที่ผิวหน้า ด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่า คราบเกลือมักเห็นได้ชัดที่บริเวณร่องยาแนว ซึ่งเป็นช่องที่ความชื้นระเหยออกได้ง่าย และอาจจะเกิดอย่างรวดเร็วภายหลังการติดตั้งหินทันที เพราะมีปริมาณเกลือในปูนสูง หรือในช่วงหน้าฝนก็มีโอกาสเกิดได้สูงกว่าหน้าร้อน เนื่องจากมีปริมาณความชื้นที่มากกว่า เป็นต้น




การแก้ไขและป้องกันคราบขาว

การล้างคราบขาวเหล่านี้ หากเกิดขึ้นและสะสมไม่มาก สามารถขัดล้างได้ด้วยน้ำยาล้างคราบขาว แต่ต้องพึงระวังน้ำยาที่นำมาใช้อาจเป็นอันตรายต่อผิวหินได้ จึงควรเลือกน้ำยาที่เป็นมิตรต่อหิน ธรรมชาติ และ ควรทดลองกับพื้นที่เล็กๆ ก่อนใช้งานจริง


ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ: MAPEI ULTRACARE KERANET EASY A ready to use acid based cleaner suitable for use very soon after grouting with cementitious grout.



สำหรับการป้องกันให้โอกาสเกิด Efflorescence หรือคราบขาวลดลง ทำได้โดยการตัดปัจจัยที่เกี่ยวข้องออก เช่น การเลือกใช้วัสดุยึดติดและเติมร่องคุณภาพสูงเช่น Epoxy ในการติดตั้งหินธรรมชาติแทนการใช้ปูนกาวและปูนยาวแนวทั่วไปที่มีส่วนผสมของเกลือ รวมไปถึงการใช้พลาสติกหรือแผ่น PU Sheet แบ่งชั้นวัสดุเพื่อช่วยกันความชื้นจากพื้นดินด้านล่าง หรือ การทาผิว คอนกรีตด้วยน้ำยากันซึมก่อนการติดตั้ง


ผลิตภัณฑ์ที่แนะนำ: MAPEI KERAPOXY

The epoxy acid-resistant mortar ideal for industrial floors


เพรสทีจ เพวิ่ง เป็นผู้นำเข้าระบบการติดตั้งหินธรรมชาติที่ช่วยลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะ ยาว ทำให้หินธรรมชาติ สวยงามคงทนถาวรยาวนาน




อ้างอิง

1. https://granitegold.com/blogs/featured/how-to-remove-efflorescence- from-stone

2. https://www.tileletter.com/efflorescence-reappearing-on-stone-floor/ 3. https://sbstonemasters.com/2019/04/04/natural-stone-damage-efflorescence/ 4. https://www.cpacacademy.com/

54 views

RECENT POSTS

ARCHIVE

bottom of page